เค้าโครงโครงงาน


 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา
ง.30253  โครงงานคอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ปีการศึกษา
 2556

1. ชื่อโครงงาน    เรื่อง การสอนทำอาหารพื้นบ้านอีสาน
2. ประเภทของโครงงาน   (เลือก 1 โครงงาน)
                 
þโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
                 
qโครงงานพัฒนาเครื่องมือ
                 
qโครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                 qโครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
                 
qโครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุล  ผู้เสนอโครงงาน  
                 
1.นางสาว วนิดา ผาพันธ์                ชั้น ม.6/8          เลขที่ 11

               2. นางสาว ณิชมน  ศรีขาวขวัญ     ชั้น ม.6/8           เลขที่ 23

               3.นางสาว วรรณวิมล  สุขศิลป์      ชั้น ม.6/8           เลขที่ 27

               4.นางสาว นิสาชล  สหะชัย            ชั้น ม.6/8          เลขที่ 32


4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน

                นางสาวดรุณี  บุญวงค์

5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม
               
-

6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

            ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป การใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น

           การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราในหลายรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น ถ้าคุณกำลังดูทีวีอยู่หรือคุณกำลังรอรับใบเสร็จจากห้างร้าน คุณก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยที่คุณไม่รู้ตัว    ปัจจุบันพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว   แม้กระทั่งการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการพักผ่อน เพื่อการบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง   ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ 

             ผู้จัดทำเล็งเห็นว่าการที่คนในยุคนี้ไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของอาหารพื้นบ้านและคิดว่าการทำอาหารนั้นยุ่งยาก    จึงจัดทำโครงงานเรื่องการทำอาหารพื้นบ้าน  เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการทำอาหารได้นำไปเป็นความรู้และถือปฏิบัติ    โดยผ่านสื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์

AVS Video Editor   ในการสร้างสื่อการเรียนรู้   การสอนทำอาหารพื้นบ้านอีสานโดยการประยุกต์ดัดแปลงให้น่าสนใจ โดยการนำเอาเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำได้มาเป็นตัวในการดำเนินงาน 

 

               

7. วัตถุประสงค์

1.             เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์

2.             เพื่อแนะนำการทำอาหารพื้นบ้านอีสาน โดยวิธีทำมีความแปลกใหม่

3.             เพื่อเพิ่มความรู้ทางด้านอาหาร

 

 

8. หลักการและทฤษฎี

                    1. อาหารพื้นบ้านอีสาน

                    2. การผลิตสื่อวีดีโอเพื่อการศึกษา

1.1.อาหารพื้นบ้านอีสาน

          ชาวอีสานมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง      เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น    มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ    ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย  ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยว   เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา

1.2 . การผลิตสื่อวีดีโอเพื่อการศึกษา

         วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้

               - ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง

              - ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ

              - ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่

               - ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์

การผลิตวีดีโอ

1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใด และกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อที่จะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม

2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นเก็บไว้

3. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพอย่างเดียว หรือทั้งภาพและเสียงทีได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลาย ๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์  .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้

4.การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาเรียงต่อกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ  เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือจะทำการปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้ เช่นการตัดต่อวีดีโอด้วย Adobe Premiere ปัจจุบันการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษ ปรับแต่งภาพให้สวยงามได้ จึงได้รับความนิยม แต่ผู้ที่ต้องการตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องไม่ลืมว่างบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อนั้นมีราคาแพง หากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะกับงานที่จะทำ เพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

5. การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่าง ๆ เทปวีดีโอ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อจะได้เก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่

 

9. ขอบเขตของโครงงาน   

                   สร้างสื่อวีดีโอ เพื่อเผยแพรความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านอีสาน โดยใช้โปรแกรม

 AVS Video Editor   ในการตัดต่อวีดีโอ   และโปรแกรม Camera ในการอัดวีดีโอ

 

 

10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน

ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
 
ü
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ
 
 
ü
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน
 
 
 
ü
 
 
 
 
 
 
 
 
5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1
 
 
 
 
ü
 
 
 
 
 
 
 
6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2
 
 
 
 
 
ü
 
 
 
 
 
 
7
ปรับปรุง ทดสอบ
 
 
 
 
 
 
ü
 
 
 
 
 
6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน
 
 
 
 
 
 
 
ü
 
 
 
 
8
ประเมินผลงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
ü
 
 
 
9
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ü

 

 

10. สถานที่ดำเนินงาน

บ้าน นางสาววรรณวิมล  สุขศิลป์  บ้าน เลขที่ 31/233 หมู่บ้านเพลินใจ 2

 

11. งบประมาณ

                500 บาท

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ  
              1.  ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำอาหาร

              2.  ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้โปรแกรมผลิตสื่อ
 

13. เอกสารอ้างอิง

                http://www.thaigoodview.com/node/25191    6/6/56

               http://www.cccinter.8k.com/new_page_25.htm  6/6/56


               http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html    7/6/56

                      ลงชื่อ                                                                          ลงชื่อ

         (  นางสาว วนิดา ผาพันธ์ )                                ( นางสาว ณิชมน ศรีขาวขวัญ)                                                      
ผู้เสนอโครงงาน                                                 ผู้เสนอโครงงาน


            ลงชื่อ                                                                         ลงชื่อ

( นางสาว นิสาชล สหะชัย )                       ( นางสาว วรรณวิมล  สุขศิลป์ )
ผู้เสนอโครงงาน                                 
             ผู้เสนอโครงงาน

 

     

                                                  ลงชื่อ                        
                                                     (
นางสาวดรุณี  บุญวงค์)
                                                       ครูที่ปรึกษาโครงงาน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น